สุขภาพและกีฬา

ถอดบทเรียนสู้มะเร็งเพื่อวางแผนในการรักษามะเร็ง

เมื่อพูดถึงโรคร้ายแรงใกล้ ๆ ตัว แน่นอนว่าต้องมีชื่อของ “โรคมะเร็ง” ติดอันดับต้น ๆ เป็นแน่ หลาย ๆ ครั้งที่พบว่าคนใกล้ตัวตรวจเจอมะเร็งจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือพบแพทย์เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยบางอย่าง แต่ไป ๆ มา ๆ กลับตรวจพบโรคมะเร็ง

ถึงแม้ว่ามะเร็งจะมาทักทายแบบไม่บอกล่วงหน้า ขอให้ตั้งสติเพราะโรคมะเร็งรักษาได้ ยิ่งตรวจพบไวยิ่งมีโอกาสรักษาหายได้มากกว่า แต่เพื่อความชัวร์ควรนัดพบคุณหมอเฉพาะทางท่านอื่นๆ อีก 1-2 ท่าน เพื่อเข้ารับการปรึกษาเพิ่มเติม (Second Opinion) เมื่อรู้ผลการตรวจวินิจฉัยแล้วว่าใช่มะเร็งแน่ ๆ ถัดไปคือการเลือกวิธีการรักษา ทบทวนสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพรวมถึงวงเงินค่ารักษาที่มี และแผนการลางานเพื่อเข้ารับการรักษา

แต่ต้องไม่ลืมว่า ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากโรคมะเร็งไม่ได้มีเฉพาะค่ารักษาเท่านั้นแต่ยังรวมถึงค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและค่าใช้จ่ายของบุคคลที่อยู่ในความดูแลของเราเองด้วย เพื่อลดความเครียดของตัวผู้ป่วยมะเร็งเองและครอบครัวให้คงคุณภาพชีวิตอย่างเดิมให้ได้มากที่สุด ถ้าให้คำนวณแบบคร่าวๆ มีโอกาสถึง 1 ล้านในช่วง 3 เดือนแรกเลยทีเดียวขึ้นอยู่กับ ชนิดและระยะของมะเร็ง วิธีการรักษา รวมถึงโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา

ถอดบทเรียนสู้มะเร็ง 1 ล้านใน 3 เดือนแรก

สบายใจค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง ด้วยประกันโรคมะเร็ง

1. ค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเพิ่มเติม (Second Opinion) เริ่มต้น 20,000 บาท*

นัดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเป็น Second Opinion หรือบางคนอาจจะหาแพทย์เพื่อความชัวร์ 3 ราย โดยขั้นตอนนี้อาจต้องทำการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องดิจิทัลเพทซีที (Digital PET CT) และค่าตรวจวินิจฉัยมีราคาเริ่มต้น 20,000 บาท*

*ค่าบริการตรวจวินิจฉัยระบบประสาทด้วยเครื่องดิจิทัลเพทซีทีของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยค่าใช้จ่ายจะแตกต่างตามแต่ส่วนของร่างกายที่ทำการสแกนรวมไปถึงความละเอียดของอวัยวะที่ทำการสแกนด้วย

2. ค่าผ่าตัดประมาณ 100,000-500,000 บาท

หากแพทย์แนะนำให้ทำการผ่าตัดชิ้นเนื้อมะเร็งออกทั้งก้อนจะมีค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด ค่าห้องโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) ค่าแพทย์ ค่าอาหาร ค่าบริการโรงพยาบาล ราคาจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของโรงพยาบาลนั้น อาจมีค่าใช้จ่ายประมาณ 100,000-500,000 บาท

3. ค่าทำคีโม / ค่าฉายแสงสูงสุด 200,000 บาท*

ในผู้ป่วยมะเร็งบางรายแพทย์จะแนะนำให้ทำการรักษามากกว่า 1 วิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการรักษาโรคมะเร็งที่มากขึ้น เช่นหลังจากทำการผ่าตัดชิ้นเนื้อร้ายและฉายแสง/รับคีโมต่อเนื่องแบบผู้ป่วยนอก มีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 100,000-200,000 บาท*

*ประมาณการค่าฉายรังสีในเวลาราชการ สำหรับโรคมะเร็ง สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยค่าใช้จ่ายจะแตกต่างตามแต่ส่วนของร่างกายที่ทำการรักษาและจำนวนครั้งที่ทำการรักษา

ผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องกินอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และมีโปรตีนสูง

4. ค่าใช้จ่ายในการดูแลร่างกายให้แข็งแรง

อาหารเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีร่างกายที่แข็งแรงพอที่จะรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นว่าต้องเป็นอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และมีโปรตีนสูงซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของร่างกายที่จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่อ่อนเพลีย และไม่ติดเชื้อง่าย หากต้องมีการให้คีโมควรพบทันตแพทย์เพื่อทำฟันให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับการรักษาด้วย

5. ค่ารักษาอาการแทรกซ้อน

ระหว่างที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งผู้ป่วยอาจมีอาการแทรกซ้อนได้หลายกรณี เช่น ผิวลอกแห้ง เป็นแผลง่าย ภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ภาวะบวมน้ำเหลือง รวมถึงการแพร่กระจายของมะเร็งไปบริเวณอวัยวะอื่นในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีค่าเดินทางจากบ้านไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ตามนัด ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถประมาณการณ์ได้

6. ค่าครองชีพหากไม่สามารถทำงานได้

ผู้ป่วยที่รักษามะเร็งด้วยการผ่าตัดแพทย์มักแนะนำให้หยุดพัก 1-3 เดือนเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการกระทบกระเทือนของแผลผ่าตัดซึ่งในระหว่างนี้อาจจะทำให้ไม่สามารถทำงานได้ แต่ค่าครองชีพประจำวันยังคงอยู่ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าดูแลสัตว์เลี้ยง และรวมไปถึงหนี้จากการผ่อนชำระต่างๆ ทำให้ต้องนำเงินเก็บออกมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมถึงบางคนอาจต้องจ้างผู้ดูแลในระหว่างที่ร่างกายยังไม่เต็มร้อย เริ่มต้นที่ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นอยู่กับหน้าที่ความรับผิดชอบ

ประกันคุ้มครองโรคมะเร็งแบบมีเงินก้อนให้ทันทีที่ตรวจพบมะเร็งครั้งแรก

• ค่ารักษาโรคมะเร็งจนจบคอร์สรวมค่าใช้จ่ายระหว่างรักษาเพื่อคงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวมีโอกาสแตะ 1 ล้านได้ง่ายมาก ๆ ถึงแม้ว่าการรักษาในโรงพยาบาลรัฐบาลจะมีรักษาที่ย่อมเยาว์ และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็อาจจะต้องรอคิวเพื่อรับการรักษาเนื่องจากมีปริมาณผู้ป่วยรอรับการรักษาค่อนข้างเยอะ ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวตัดสินใจเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนซึ่งมีค่ารักษาที่สูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล 2.5-7 เท่า และค่ายามีราคาที่สูงกว่า 40-600 เท่าเลยทีเดียว ผลการศึกษาอัตราค่าบริการของโรงพยาบาลเอกชนในปี 2552 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

ทางเลือกที่น่าสนใจคือการทำประกันคุ้มครองโรคมะเร็งแบบมีเงินก้อนให้ทันทีที่ตรวจพบเพื่อที่สามารถนำเงินก้อนนั้นมาวางแผนในการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ด้วยประกันมะเร็งออนไลน์ FWD Easy E-CANCER

• แผนเดียวเอาอยู่ คุ้มครองทุกโรคมะเร็ง

• ตรวจพบมะเร็งรับสูงสุดถึง 2 ล้านบาท (มะเร็งผิวหนังรับ 50,000 บาท) ตามแผนความคุ้มครองที่เลือก

• จ่ายเบี้ยประกันคงที่ 5 ปี คุ้มครอง 5 ปี

• สามารถคำนวณเบี้ยประกันเปรียบเทียบแผนประกันก่อนการตัดสินใจซื้อ และซื้อได้ง่ายๆ ผ่านทางช่องทางออนไลน์

• ค่าเบี้ยประกันความคุ้มครองโรคมะเร็งสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ตามที่กฎหมายกำหนด ไม่เกิน 25,000 บาท

แชร์