เทคนิควางแผนภาษี เรื่องภาษีที่ควรรู้ก่อนอายุ 25

คุณน้องจ๊ะ มาฟังทางนี้ เชื่อพี่ดีแน่นอนเพราะพี่รู้พี่โดนมาก่อน! เพราะไม่อยากให้น้องๆ ที่ยังใหม่อยู่กับโลกของชีวิตมนุษย์เงินเดือน โดยเฉพาะเหล่า First Jobber หนุ่มสาวไฟแรงที่พร้อมทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ทำงานคุ้มเงินเดือนจนลืมไปว่าชีวิตการทำงานยังมีอีกเรื่องสำคัญที่ต้องรับผิดชอบเมื่อมีรายได้เป็นของตัวเองด้วย นั่นก็คือหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล

แล้วที่ผ่านๆ มาอาจจะไม่ได้มีคนมาบอก หรือมีการสอนเรื่องการเงินเสียด้วย อาทิ เรื่องการคำนวณภาษีเงินได้ เรื่องสิทธิประโยชน์ของประกันสังคม เรื่องการวางแผนลดหย่อนภาษี หรือวิธีการอัพเงินเดือน แต่เราก็ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพื่อพร้อมรับมือกับการยื่นภาษีที่กำลังจะมาถึงในเร็วนี้ มาดูประสบการณ์จริงจากผู้เคยยื่นภาษีมาก่อนได้ที่นี่เลย

มือใหม่ยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลควรต้องรู้อะไรบ้าง

มือใหม่ยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลควรต้องรู้อะไรบ้าง

ขั้นแรกของการเตรียมตัวยื่นภาษีเราต้องรู้ก่อนว่าตัวเรานั้น รายรับเข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ โดยตามกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าบุคคลใดก็ตามที่ “มีรายได้เกิน 150,000 บาท” ขึ้นไปต่อปี ต้องยื่นแบบชำระภาษีด้วย เพราะฉะนั้นใครที่รู้ตัวว่าตนเองมีรายได้เกินปีละ 150,000 บาท ก็ต้องเตรียมตัวยื่นแบบชำระภาษี ช่องทางการยื่นภาษีก็สะดวกสบาย ยื่นได้ผ่านระบบออนไลน์ที่นี่ ส่วนจะต้องยื่นเท่าไหร่นั้นสามารถดูจากตารางนี้ได้เลย

เงินได้สุทธิตั้งแต่

เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น

อัตราภาษี

ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้

ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น

0   -     150,000

 150,000

 5

 ยกเว้น*

 0

 เกิน 150,000   -     300,000

 150,000

 5

 7,500

 7,500

 เกิน 300,000   -     500,000

 200,000

 10

 20,000

 27,500

 เกิน 500,000   -     750,000

 250,000

 15

 37,500

 65,000

 เกิน 750,000   -  1,000,000

 250,000

 20

 50,000

 115,000

 เกิน 1,000,000  -  2,000,000

 1,000,000

 25

 250,000

 365,000

 เกิน 2,000,000  -  5,000,000

 3,000,000

 30

 900,000

 1,265,000

 เกิน 5,000,000  บาท ขึ้นไป

 

 35

 

 

ที่มา : เว็บไซต์กรมสรรพากร

หลังจากที่เรารู้ตัวแล้วว่ามี “รายได้” เข้าเกณฑ์ที่ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้ ขอให้อย่าเพิ่งเข้าใจว่าจะต้องจ่ายจริงตามนั้น เพราะเรายังสามารถนำรายการที่สามารถ “ลดหย่อนภาษี” ได้ มาคำนวณลบออกจากยอดรายได้รวม ซึ่งสุดท้ายหลังจากดูรายการที่สามารถลดหย่อนได้แล้ว เราอาจจะไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มหรืออาจจะได้เงินคืนด้วยก็ได้

เสริมอีกนิด อย่าลืมเตรียมเอกสารเพื่อยื่นภาษีด้วยนะ

• หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ 50 ทวิ จากบริษัทฯ หรือหากเป็น Freelance ต้องขอหนังสือ หรือ ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย’ ที่ฟรีแลนซ์จะได้รับจากผู้ว่าจ้าง ในกรณีที่เงินค่าจ้างเกิน 1,000 บาท ขึ้นไป เพื่อใช้ในการยื่นภาษี

• เอกสารทางการเงินอื่นๆ ตามรายการลดหย่อนภาษี เช่น บิลชำระเบี้ยประกันหรือดอกเบี้ยเงินกู้อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งเราจะต้องใช้ในการกรอกจำนวนเงินลดหย่อนภาษีและแนบไปเป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษีกับกรมสรรพากร

เอกสารเพื่อยื่นภาษี ตามรายการลดหย่อนภาษี

เติมความรู้ข้อมูลการลดหย่อนภาษีเบื้องต้น

ต่อเนื่องจากด้านบนของเรื่องการลดหย่อนภาษี อย่างที่เล่าไปในตอนต้นว่า แม้เราเราจะต้องเสียภาษี แต่ก็ยังมีบางรายการที่เราสามารถเอามาใช้ลดหย่อนได้ โดยรายละเอียดของสิ่งที่สามารถนำมาลดหย่อยได้นั้น สามารถตรวจสอบรายการลดหย่อนภาษีได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร จะเห็นรายการที่สามารถนำมาลดหย่อนได้หลายรายการเลย แต่ที่น่าสนใจสุดๆ คือการนำประกันมาลดหย่อน ซึ่งเป็นวิธีการยอดฮิตที่มักใช้กัน เพราะนอกจากเราจะใช้ลดหย่อยได้แล้ว เรายังจะได้รับในส่วนของความคุ้มครองจากประกันที่เราซื้อ รู้สึกได้เลยว่าเงินที่จ่ายไปไม่เสียเปล่าแน่นอน แล้วมือใหม่หักยื่นภาษีถ้าจะใช้ประกันในการนำมาลดหย่อนควรซื้อประกันไหนดี เดี๋ยวรู้เลย

ของดีที่พี่บอกต่อประกันสะสมทรัพย์ Easy E-SAVE 10/5 ประกันตัวแรกที่เราควรซื้อเพื่อลดหย่อนภาษี

ของดีที่พี่บอกต่อประกันสะสมทรัพย์ลดหย่อนภาษี Easy E-SAVE 10/5

น้องใหม่ในชีวิตการทำงาน ช่วงชีวิตที่อยู่ในวัยสร้างเนื้อสร้างตัว การที่มีช่องทางในการเก็บเงินให้ได้มากๆ ย่อมเป็นแผนชีวิตที่ดี และก็น่าจะเป็นสิ่งที่คาดหวังในใจว่าอยากจะหาเงินให้ได้มากๆ เพื่อความสำเร็จของชีวิต แนวคิดนี้เข้ากันได้ดีมากกับประกันสะสมทรัพย์ Easy E-SAVE 10/5 เพราะแค่ชื่อก็บอกแล้วว่าช่วยเรื่องการเซฟเงิน

ด้วยจุดเด่นของการเป็นประกันแบบสะสมทรัพย์ ที่จะช่วยทำให้น้องๆ ไปถึงเป้าหมายที่หวังได้ใกล้ยิ่งขึ้น เหมาะกับคนรุ่นใหม่ใจร้อนเพราะ จ่ายเบี้ยประกันสั้นๆ 5 ปี แต่ได้รับความคุ้มครองยาว 10 ปี เพราะสามารถเลือกเบี้ยประกันต่อปีได้ตามใจ 20,000 – 400,000 บาท มีเงินคืน สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1-5 รับเงินคืน 4% ของทุนประกัน และสิ้นปีกรมธรรม์ที่ 6-9 รับเงินคืน 5% ของทุนประกัน ครบ 10 ปี รับเงินคืน 350% ของทุนประกัน ที่สำคัญนำไปลดหย่อนภาษีได้ต้องจัดแล้วนะพี่ว่า

หากยังลังเลสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม หรือลองคำนวณเบี้ยประกันได้ที่นี่

ท้ายที่สุดการวางแผนภาษีหรือการรู้จักใช้ประโยชน์จากสิทธิทางภาษี เป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มต้นวางแผนการเงิน หากแต่การเสียภาษีอาจจะดูเป็นเรื่องที่ใหม่มากๆ สำหรับน้องที่เพิ่งเข้ามาทำงาน หรือสำหรับเหล่า First Jobber แต่เชื่อว่าน้องๆยุคใหม่ทำได้แน่นอน และเมื่อน้องทำได้แล้ว อย่าลืมบอกต่อคนเพื่อนๆ ไปกันด้วยนะ

แชร์